การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บ ดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์ การ จัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ
Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1.รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2.เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการ
3.ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4.สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5.หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6.จัดระบบข้อมูล
7.จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8.พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9.ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10.พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11.ลงมือพัฒนาเว็บ
12.เปิดเว็บไซท์
13.ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
หลักสำคัญในการออกเเบหน้าเว็บไซต์ คือ การใช้รูปภาพเเละองค์ประกอบต่างๆ ร่วมกันเพื่อสื่อความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือลักษณะสำคัญของเว็บให้น่าสนใจ บนพื้นฐานของความเรียบง่ายเเละสะดวกของผู้ใช้
เเนวคิดในการออกเเบบหน้าเว็บ
• เรียนรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ
• ประยุกต์รูปแบบจากสื่อพิมพ์
• ใช้เเบบจำลองเปรียบเทียบ (Metaphor)
• ออกแบบอย่างสร้างสรรค์
หลักการออกเเบบหน้าเว็บ
1.สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
จัดตำเเหน่งเเละลำดับขององค์ประกอบ เเสดงลำดับความสำคัญของข้อมูลที่ต้องการให้ผู้ใช้ได้รับเนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เเละจากบน ลงล่าง จึงควรจัดวางสิ่งที่สำคัญไว้ที่ส่วนบนหรือด้านซ้ายของหน้าอยู่เสมอ
2. สร้างรูปแบบ บุคลิกเเละสไตล์
รูปแแบบ การเลือกรูปแบบเว็บที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความเข้าใจของผู็ใช้ได้ดีขึ้น บุคลิก เว็บเเต่ละประเภทอาจมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาเเละเป้าหมายในการนำเสนอสไตล์ คือ ลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า ณุปแบบกราฟิก ชนิดเเละการจัดตัวอักษร ชุดสีที่ใช้ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่ควรสร้างตามใจชอบ
3.สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์
ความสม่ำเสมอของโครงสร้างเว็บเเละระบบเนวิเกชั่น ทำให้รู้สึกคุ้นเคยเเละสามารถคาดการณ์ ลักษณะของเว็บได้ล่วงหน้า ทางด้านเทคนิดสามารถใช้ css กำหนดได้เพื่อให้เป็นมารตฐานเดียวกัน
4.จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ ประกอบด้วย
1.ชื่อของเว็บ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้ทันทีว่ากำลังอยู่ในเว็บอะไร
2.ชื่อหัวเรื่อง
3.สิ่งสำคัญที่เราต้องการโปรโมตเว็บ
4.ระบบเนวิเกชั่น
5.สร้างจุดสนใจด้วยความเเตกต่าง
การจัดองค์ประกอบให้ภาพรวมของหน้ามีความเเตกต่างเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำสายตาผู้อ่านไปยังบริเวณต่างๆ โดยการใช้สีที่ตัดกัน
6.จัดเเต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบ
เนื้้อหาในหน้าเว็บจำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ดูง่ายเเยกเป็นสัดส่วน เเละดูไม่เเน่นจนเกินไป
7.ใช้กราฟฟิกอย่างเหมาะสม
ควรใช้กราฟิกที่เป็นไอคอน ปุ่ม ลายเส้น เเละสิ่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมเเละไม่มากเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงโครงสร้างที่หยุ่งเหยิงเเละไม่เป็นระเบียบ ส่วนตัวอักษรขนาดใหญ่ด้วยคำสั่ง h1 เเละ h2 ควรใช้ในปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด
รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ หลักๆ มี 2 ประเภท คือ GIF และ JPG
GIF ย่อมาจากคำว่า Graphic Interchange Format
ได้รับความนิยมในยุคแรก มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256 สี มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
JPG ย่อมาจากคำว่า Joint Photographic Experst Group
มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7ล้านสี ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy) ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียดระบบการวัดความ ละเอียดของรูปภาพ ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel por inch (ppi) การใช้งานจะนำหน่วย dor per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi
โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ
ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทที่นำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
Adobe PhotoShop
Adobe ImageReady
Firework
ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ รูปแบบไฟล์, ชุดสีที่ใช้, จำนวนสี, ระดับความสูญเสีย, ความโปร่งใส และสีพื้นหลัง